วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บุคลิกภาพของนบีมูฮัมมัด แบบอย่างที่ดีที่ควรปฏิบัตในการดำเนินชีวิต

บุคลิกภาพของนบีมูฮัมมัด แบบอย่างที่ดีที่ควรปฏิบัตในการดำเนินชีวิต
ที่มาของรูป https://www.youtube.com
1. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีเมื่ออยู่ในวงสนทนาท่านนบีมักจะนิ่งฟังมากกว่าจะเป็นผู้พูด ท่านจะพูดแต่เฉพาะเรื่องที่สำคัญเท่านั้น

2. พูดความจริง ท่านนบีเคร่งครัดมากในการพูดความจริง ท่านจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ไม่พูดในสิ่งไร้สาระ 

3. เป็นคนรักความสะอาดเรียบร้อย ท่านมีนิสัยรักความสะอาดเรียบร้อย รังเกียจสิ่งที่มีกลิ่นเหม็นและฉุน

4. เป็นคนเรียบง่าย ท่านนบีไม่ชอบชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา ท่านเป็นคนมีชีวิตอยู่แบบเรียบง่าย และแนะนำผู้อื่นให้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย 

5. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ท่านเป็นคนใจดีที่สุด ท่านไม่เคยปฏิเสธต่อคนยากจนที่มาขอปัจจัยยังชีพจากท่าน ความใจดีเป็นนิสัยที่แท้จริงของท่าน 

6. ทำงานด้วยตัวเอง ท่านทำงานบ้านด้วยตัวเอง ปะเสื้อผ้า ปะรองเท้า รีดนม นวดแป้ง ตักน้ำ 

7. ช่วยเหลือผู้อื่น ท่านเคยช่วยทำงานให้ผู้อื่น เช่นช่วยหญิงหม้ายคนยากจนทำงาน โดยท่านไม่ถือตัว และเสียดายแรงงาน 

8. ถ่อมตนเสมอ ท่านมักจะก้มหน้าถ่อมตนเสมอ ท่านไม่ชอบพิถีพิถันในการแต่งกายเพื่อโอ้อวด การแต่งกาย แต่งแบบเรียบง่ายถึงแม้ว่าเครื่องแต่งกายจะมีรอยปะ แต่ก็เป็นเครื่องแต่งกายที่สะอาด ท่านไม่ชอบเครื่องประดับ 

9. ให้เกียรติแก่แขก ท่านเอาใจใส่ต้อนรับแขกทุกคนที่มาเยี่ยมท่านเป็นอย่างดี 

10. ไม่ชอบความฟุ่มเฟือย ท่านเอาใจใส่การกินอาหาร ท่านจะกินอาหารที่มีคุณค่า และจะกินอย่างไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย ไม่ว่าการกินและการดำรงชีวิตอย่างอื่น ท่านจะไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย 

11. รักความเสมอภาค ท่านให้ความสำคัญแก่คนรวย คนจน เด็ก สตรี คนชรา และทาส เท่าเทียมกันหมด 

12. รักคนจน แต่ไม่ชอบให้ใครขอทาน ท่านไม่ชอบการขอทาน ท่านชอบการทำงาน มีหลายคนมาขอทานจากท่าน ท่านก็แนะนำให้ไปทำงาน เช่น ให้ไปตัดฟืนมาขาย 

13. ระลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในลักษณะใด ท่านจะระลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ

ที่มาของบทความ http://islamhouse.muslimthaipost.com

มารยาทในการรับประทานอาหาร


มารยาทในการรับประทานอาหาร
1. การกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนรับประทานอาหาร และการดื่ม  
    มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษของ อัมร์ บิน สะละมะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ได้กล่าวกับอัมร์ว่า:

                                                    «يَا غُلامُ ، سَمِّ اللهَ وَكُلْ بِيَمِيْنِكَ ، وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»

ความว่า “โอ้เด็กน้อยเอ๋ย จงกล่าวนามของอัลลอฮฺ และจงรับประทาน ด้วยมือขวา และรับประทานอาหาร ที่อยู่ถัดจากท่าน” (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022)
    หากว่าลืมกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนเริ่มรับประทานอาหาร ก็ให้กล่าวเมื่อนึกขึ้นได้ มีรายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า  
           «إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَذْكُرِ اسْمَ اللهِ تَعَالى ، فَإِنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اسْمَ اللهِ تَعالى فِي أَوَّلِهِ ،   فَلْيَقُلْ : بِاسْمِ اللهِ أَوَّلُهُ وَآخِرُهُ»
  
ความว่า “เมื่อคนใดคนหนึ่ง ในหมู่พวกท่าน ได้รับประทานอาหาร ก็จงกล่าวนามของอัลลอฮเถิด ถ้าหากว่า เขาลืมกล่าวก่อนทาน หากเขานึกขึ้นได้ ก็จงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮิ เอาวะลุฮู วะอาคิรุฮู” (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ทั้งในตอนเริ่ม และตอนสุดท้าย-ผู้แปล)” (อัต-ติรมิซีย์: 3767)

2.รับประทานและดื่ม ด้วยมือขวา  
   มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษของอิบนุ อุมัร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

                «إذَا أَكَلَ أَحَدُكُم فَلْيَأْكُلْ بِيَمِيْنِهِ ، وَإذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بَيَمِيْنِهِ ، فَإِنَّ الشَيْطانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ، وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ» 

ความว่า “เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่าน จะรับประทาน จงรับประทานด้วยมือขวา ของเขาเถิด และเมื่อเขาจะดื่ม ก็จงดื่มด้วยมือขวา ของเขาเถิด แท้จริงเหล่ามารร้าย (ชัยฏอน) นั้น จะกินด้วยมือซ้าย และดื่มด้วยมือซ้าย” (มุสลิม: 2020)

3.รับประทานโดยใช้เพียงสามนิ้ว

4.เลียนิ้วและจานอาหาร 


5.ให้ทานอาหารที่หล่นออกนอกจาน
   มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษญาบิร บิน อับดุลลอฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

 إِذَا وَقَعَتْ لُقْمَةُ أَحَدِكُمْ فَلْيَأْخُذْهَا ، فَلْيُمط ما كانَ بِها مِنْ أَذى ، وَلْيَأْكُلْها ، وَلا يَدَعها للشيطانِ ، وَلا يَمْسَح يَدَهُ بِالمنْدِيل حَتَّى يَلْعقَ أصابِعَهُ ، فَإنه لا يدري في أَيِّ طَعامهِ البركة

ความว่า "เมื่ออาหารคำหนึ่งของพวกท่านได้ตกลง จงหยิบมันขึ้นมาและจงขจัดส่วนที่เปื้อนสกปรกออก และจงกินอาหารนั้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้ชัยฏอนมารร้าย และอย่าเช็ดมือด้วยผ้า จนกว่าเขาจะได้เลียนิ้วเสียก่อน เพราะแท้จริงเขาไม่รู้ได้ว่า อาหารส่วนไหนมีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ)" (มุสลิม: 2032)

6.ร่วมวงทานอาหารกับภรรยาหรือลูกๆ หรือบุคคลอื่น

7.ห้ามพ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร
   รายงานจากอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษ อบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีได้กล่าวว่า:
                                         «إِذَا شَرِبَ أَحَدُكُمْ فَلا يَتَنَفَّس فِي الإِناءِ » 
ความว่า “เมื่อคนใดคนหนึ่ง จากพวกเจ้าได้ดื่ม จงอย่าพ่นลมหายใจลงในภาชนะนั้น” (อัล-บุคอรีย์: 153)
   และมีรายงานจากอบูดาวูด ในหนังสือสุนัน อบีดาวูด จากหะดีษ อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า

                               نَهَى النَبِيُّ صَلى اللهُ عليهِ وَسَلَم أَنْ يُتَنَفَّسَ فِي  الإناءِ أَوْ يُنْفَخَ فِيهِ 

ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการหายใจ ลงในภาชนะอาหาร หรือเป่าอาหาร” (อบูดาวูด: 3728)

8.ห้ามทานอาหารจากส่วนบนของจานอาหารหรือตรงกลางจาน
    8.1 อาหารประเภทเดียว หมายความว่า อาหารในจานนั้น เป็นอาหารชนิดเดียว มีประเภทเดียว มีซุนนะฮฺให้ทาน ส่วนที่อยู่ใกล้กับเราก่อน ดังหะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า: «وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»
ความว่า “และจงทานอาหาร ส่วนที่อยู่ถัดจากท่าน” (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022) 
   และอีกหะดีษหนึ่ง ที่รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์ ในหนังสือ สุนันอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของอิบนุอับบาส กล่าวว่า: «البَرَكَةُ تنزلُ في وَسَطِ الطَعَامِ ، فَكُلُوا مِنْ حَافَتَيْهِ ، وَلا تَأكُلُوا مِنْ وَسَطِهِ» 
ความว่า “ความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) จะถูกประทานลงมา ที่อาหารส่วนที่อยู่ตรงกลาง ดังนั้น จงเริ่มทาน จากส่วนขอบก่อน อย่าเริ่มทาน จากตรงกลางของอาหาร” (อัต-ติรมิซีย์: 1805) 
    8.2 อาหารมีหลากหลายประเภท ดังนั้น ถือว่าไม่เป็นไร ถ้าจะเริ่มทาน จากส่วนบนของอาหาร หรือส่วนขอบของอาหารก่อน หลักฐานที่มายืนยัน ในเรื่องดังกล่าว ก็คือ หะดีษที่รายงาน จากอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษของอะนัสบินมาลิก กล่าวว่า:

                              رَأَيْتُ النَبِيَّ صَلى اللهُ عليهِ وسلَمَ يَتَتَبَّعُ الدباءَ مِن حَوَالي الصَحْفَةِ 

ความว่า “ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลือกหามะระในจานอาหาร” (อัล-บุคอรีย์: 2092 และมุสลิม: 2041)
   
9.ห้ามดื่มน้ำในขณะที่ยืนอยู่   
   ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิม จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ได้กล่าวว่า

                                   «لا يَشْرَبَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ قَائِماً ، فَمَنْ نَسِيَ فَلْيَسْتَقِئْ » 

ความว่า “คนหนึ่งในพวกท่าน จงอย่าดื่มน้ำ ในขณะที่ยืนอยู่ หากใครลืม ก็จงบ้วนออกมา” (มุสลิม: 2026)
10.มีความพอดีในการรับประทานอาหาร
    รายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษ อัล-มิกดาม บิน มะอฺดี กัรบฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

مَا مَلأَ آدَمِيُ وِعاءً شَراً مِنْ بَطْنٍ ، بَحسْبِ ابْنِ آدمَ أَكلاتٌ يُقِمْنَ صلْبَهُ، فَإِنْ كانَ لا محالةَ، فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ ، وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ ، وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ

 ความว่า “ไม่มีภาชนะใด ที่เมื่อลูกหลานอาดัม บรรจุจนเต็มแล้ว จะแย่ยิ่งไปกว่าท้อง การที่เขาทานแต่น้อย แค่พอให้ร่างกาย มีชีวิตอยู่ได้ ก็เป็นการเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ทาน เพียงหนึ่งส่วนสามของท้อง ดื่มน้ำอีกหนึ่งส่วนสาม และอีกหนึ่งส่วนสาม เผื่อไว้ให้ได้หายใจ” (อัต-ติรมิซีย์: 2380)
ที่มาของบทความ http://islamhouse.muslimthaipost.com

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วันและเดือนอิสลาม



วันและเดือนที่สำคัญในอิสลาม

เดือนในปฏิทินอิสลามทั้ง 12 เดือน ได้แก่ 

1. มุฮัรรอม    2. ซอฟัร    3. รอบีอุลเอาวัล    4. รอบีอุลอาคิร    5. ญุมาดัลเอาวัล    6. ญุมาดัลอาคิร 
7. รอญับ    8. ชะอ์บาน    9. รอมฎอน    10. เชาวาล    11. ซุลเก๊าะดะห์    12. ซุลฮิจยะห์


เดือนฮารอม
    อัลลอฮ์ตรัสไว้ในซูเราะห์อัตเตาบะห์ โองการที่ 136 ความว่า “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์มี 12 เดือน โดยระบุในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ในวันที่พระองค์ได้ทรงสร้างฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ในจำนวนนี้มี 4 เดือนต้องห้าม”
    ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริง การเวลานั้นได้หมุนเวียนไปเหมือนกับสภาพของมันในวันที่มีการสร้างฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน 1 ปีมี 12 เดือน ในจำนวนนี้มี 4 เดือนที่ต้องห้ามโดยมี 3 เดือนติดต่อกันคือ เดือนซุ้ลก้ออ์ดะห์ ซุลฮิจยะห์และมุฮัรรอม และเดือนรอญับซึ่งอยู่ระหว่างเดือนญุมาดัลอาคิเราะห์และเดือนชะอ์บาน” โดย บุคอรีและมุสลิม 
    คำว่า “เดือนต้องห้าม” หมายความว่า ห้ามทำการสู้รบ และห้ามทำการล้างแค้นกันซึ่งมีมาในสมัยญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนที่ท่านศาสดามุฮัมมัดจะเผยแพร่ศาสนา)

เดือนมุฮัรรอม
    เป็นเดือนแรกของปฏิทินอิสลาม ส่วนวันที่สำคัญในเดือนนี้ได้แก่ วันอาชูรออ์ คือ วันที่ 10 มุฮัรรอม เป็นวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้ส่งเสริมให้ถือศีลอดและรวมถึงวันที่ 9 มุฮัรรอมด้วยเดือนรอบีอุลเอาวัล
นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด เกิดในวันจันทร์ที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ปีช้าง
วันฮิจเราะห์ การกำหนดปีฮิจเราะห์ศักราช ท่านศาสดามุฮัมมัดได้อพยพไปถึงนครมะดีนะห์ในวันจันทร์ที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ขณะเดียวกันก็ได้มีการคัดเลือกให้เดือนมุฮัรรอมเป็นเดือนแรกของศักราช โดยเหตุนี้จึงทำให้ปีฮิจเราะห์มีมาก่อนการอพยพของท่านศาสดามุฮัมมัดที่แท้จริงเป็นเวลา 1 เดือน 12 วัน
วันตายของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด คือวันจันทร์ที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 11 ตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 632 (พ.ศ. 1176)

เดือนรอญับ
    เป็นเดือนที่ 7 ของปฏิทินอิสลาม และเป็นเดือนต้องห้ามเดือนเดียวที่อยู่โดดเดี่ยวจากเดือนอื่น และมีการกล่าวว่าในคืนวันที่ 27 ของเดือนนี้เป็นวันเมี๊ยะราจของท่านศาสดามุฮัมมัด ซึ่งนักวิชาการโดยท่านอิหม่ามนะวาวีได้กล่าวให้น้ำหนักว่า วันเมี๊ยะรอจของท่านศาสดามุฮัมมัดนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 27 ของเดือนร่อบีอุลเอาวาล

เดือนชะอ์บาน
    เป็นเดือนที่ 8 ของปฏิทินอิสลาม สิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้ปฏิบัติโดยเป็นแบบอย่างให้แก่มุสลิมคือการถือศีลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบให้มุสลิมปฏิบัติด้วย

เดือนรอมฎอน
    เป็นเดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลามที่มวลมุสลิมทั่วโลกถือศีลอด และในขณะเดียวกันอัลลอฮ์ได้ทรงให้เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความประเสริฐ เป็นเดือนแห่งความจำเริญ และเป็นเดือนแห่งการสะสมความดี โดยใน 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านศาสดาได้สั่งใช้ไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาคืน อัลกอดร์ ในคืนคี่ของ 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน” ฮะดีษรายงานโดยบุคอรี จากท่านหญิงอาอิชะห์

เดือนเชาวาล
    วันที่หนึ่งของเดือนเป็นวันอีดิลฟิฏร์ วันอีดในอิสลามมี 2 วันคือ วันอีดิลฟิฏร์ และวันอีดิลอัฎฮา วันอีดิลฟิฏร์จะตรงกับวันที่ 1 ของเดือนเชาวาล และวันอีดิลอัฎฮาจะตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจยะห์ วันอีดทั้งสองนี้ อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้เป็นวันรื่นเริงของมุสลิม
    การถือศีลอด 6 วัน ความดีที่ควรปฏิบัติในเดือนเชาวาลอีก ได้แก่ การถือศีลอด 6 วัน เพราะจะทำให้ได้รับภาคผลเท่ากับการถือศีลอด 1 ปี

เดือนซุลฮิจยะห์
    เป็นเดือนที่มีความสำคัญ โดยเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีฮัจย์ และท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ ที่ยิ่งใหญ่ ณ อัลลอฮ์ และไม่เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮ์ โดยการปฏิบัติความดีในวันเหล่านั้นยิ่งกว่า 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจยะห์ ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงกล่าว ตัสเบียะห์ (ซุบฮานัลลอฮ์) ตะห์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์) ตั๊กบีร (อัลลอฮุอักบัร) ให้มากในวันเหล่านั้น"
    การถือศีลอดในวันอารอฟะห์ คือ วันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจยะห์ ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “การถือศีลอดในวันอารอฟะห์ แท้จริง ฉันหวังว่า อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษ (ในความผิด) 1 ปีก่อนหน้าวันนี้ และ 1 ปี หลังวันนี้”
    วันอีดิลอัฎฮาและวันตัชรีก ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวถึงความสำคัญของวันอีดิลอัฎฮาและวันตัชรีกไว้ว่า เป็นวันที่มีการปฏิบัติอิบาดะห์ (ศาสนกิจ) และเป็นวันรื่นเริงจึงห้ามการถือศีลอดในวันดังกล่าว และท่านได้กล่าวอีกว่า “วันอารอฟะห์ วันนะหร์ (อีดิลอัฎฮา) และวันตัชรีก (11-12-13 ของเดือนซุลฮิจยะห์) เป็นวันรื่นเริงของเรา โอ้ชาวอิสลาม มันเป็นวันแห่งการกิน และการดื่ม”
    ผลบุญของการถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “การงานจะถูกนำเสนอ ณ อัลลอฮ์ ในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันจึงชอบที่จะให้การงานของฉันถูกนำเสนอ โดยที่ฉันถือศีลอด”
    ความสำคัญของวันศุกร์ ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาด โดยเขาอาบน้ำละหมาดอย่างดี แล้วไปละหมาดญุมุอะห์ (วันศุกร์) และฟังคุฏบะห์ โดยสงบนิ่ง เขาจะได้รับการอภัยโทษ ระหว่างวันศุกร์นั้นและวันศุกร์ต่อไป และเพิ่มอีก 3 วัน และผู้ใดที่ลูบคลำเม็ดหิน (ไม่สนใจฟังคุฏบะห์) แท้จริง เขาทำให้ผลบุญในการละหมาดวันศุกร์เป็นโมฆะ” บันทึกโดยมุสลิม

ที่มาของบทความ http://islamhouse.muslimthaipost.com



นักปรัชญาอิสลาม


นักปรัชญาอิสลาม

          ในขณะที่แสงสว่างแห่งความรู้และศาสตร์แขนงต่างๆ ตลอดจนวัฒนธรรมดับลงทีละดวงจากยุโรป ต่อมาแสงสว่างแห่งศาสตร์แขนงต่างๆ ก็กำลังทอแสงอันเรืองรองในตะวันออกกลาง บานสะพรั่งอยู่ในกรุงดามัสกัส กรุงแบกแดด กรุงไคโร ในแวดวงวิทยาการอันหลากหลาย
          ระหว่างศตวรรษที่ 8-11 อันเป็นยุคมืดของยุโรปนั้น วัฒนธรรมของอาหรับ ทั้งวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ แพทยศาสตร์ ฯลฯ กำลังโดดเด่นอย่างสุดขีด
          ในที่สุดงานนิพนธ์ในรูปของภาษาอาหรับจากนักปรัชญาอาหรับในสาขาวิทยาการต่างๆได้แพร่หลายเข้าไปในยุโรปโดยน้ำมือของชาวยุโรปนั่นเอง ด้วยวิธีการศึกษาและในรูปแบบของพ่อค้าวาณิชย์  นักปรัชญามุสลิมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของโลก มีดังนี้
     1. อัล คินดี ท่านเป็นนักปรัชญาของโลกมุสลิมคนแรกที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก ท่านเป็นนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ และเป็นคนหนึ่งในจำนวนนักปรัชญาในสมัยคอลีฟะห์ "อัล มะมูน"ท่านได้เขียนตำราเกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ มากมาย เช่น ด้านแพทยศาสตร์ ศาสนศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ แต่เป็นที่น่าเสียดายตำราของท่านส่วนมากสูญหายไป ท่านเกิดปี ฮ.ศ.185 และเสียชีวิตปี ฮ.ศ.252

     2. อัรรอซี ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นนักปรัชญาอย่างแท้จริงตามแนวทางของ "คินดี" แต่ท่านเป็นนักฟิสิกส์และนักการแพทย์ที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง ท่านได้เขียนหนังสือปฏิเสธทัศนะของอริสโตเติลไว้หลายเล่ม ท่านได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.935

     3. อิบนุ อัล นาดีม ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ใช่นักปรัชญาที่แท้จริงนัก แต่ท่านก็อยู่ในวงการของนักปรัชญา หนังสือของท่านเป็นหีบสมบัติอันล้ำค่าของความรู้ต่างๆ ในวิชาการหลายๆ แขนง รวมถึงปรัชญาด้วย

     4. อิบนุ มิสกาวัยฮ์ เป็นนักปรัชญาที่สำคัญผู้หนึ่ง ท่านเขียนตำราไว้มากมาย ซึ่งตำราของท่านได้อธิบายหลักการคำสอนอิสลามในแง่ปรัชญา และอธิบายถึงการมีอยู่และเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า โดยใช้เหตุผลประกอบ ยิ่งกว่านั้น ท่านยังได้เขียนตำราในเชิงปรัชญาจริยศาสตร์อีกหลายเล่มด้วยกัน ท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ.1030

     5. อิบนุ ซีนา ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้อันกว้างขวางในโลกมุสลิม หลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านการแพทย์ จนกระทั่งถูกขนานนามว่า "บิดาแห่งวงการแพทย์" ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์อันเฉียบคม เป็นนักปรัชญาที่โด่งดัง ท่านได้เขียนตำราไว้หลายเล่ม ท่านสิ้นชีวิตในปี ค.ศ.1037

     6. อิบนุ ตุเฟล ท่านเป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งเป็นชาวสเปน ถึงแม้ว่าปรัชญาของท่านจะคล้ายคลึงกับ "อิบนุ บายะห์" ก็ตาม แต่ท่านพยายามมุ่งเน้นไปในทิศทางแห่งการพินิจพิจารณาทางด้านสติปัญญาอย่างมีเหตุผล และการเพ่งทางจิต ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.581

     7. อิบนุ รุชด์ ท่านมีนามเต็มว่า อบูวาลิด มูฮัมมัด บิน อะห์หมัด อิบนิ รุชด์ ท่านเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงอันเรืองรอง ถึงอย่างไรก็ตามชาวตะวันตกก็ยอมรับในความสามารถอันเก่งกาจของท่าน จนกระทั่งยกให้เป็นนักปรัชญามุสลิมที่ยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผู้นิพนธ์อันละเอียดอ่อนเกี่ยวกับงานนิพนธ์ของอริสโตเติลได้อย่างลึกซึ้งที่สุด ท่านเชื่อว่าศาสนาอิสลามยกย่องและสนับสนุนการศึกษาปรัชญา และอัลกุรอานได้บัญชาให้แสวงหาความรู้และแสวงหาความจริง เพราะปรัชญาที่แท้จริงนั้นไม่สวนทางและต่อต้านศาสนา อิบนุ รุชด์เป็นนักปรัชญาที่มีความรู้อย่างกว้างขวาง ท่านได้ทิ้งผลงานในเรื่องต่างๆ ไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะด้านปรัชญา นิติศาสตร์และแพทยศาสตร์ กระทั่งทำให้ชื่อเสียงของอิบนุ รุชด์ แพร่หลายไปทั่วโลก ท่านเกิดในปี ค.ศ.1126 และเสียชีวิตในปี ค.ศ.1198

     8. อัล ฟารอบี ท่านเป็นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่มุสลิม ท่านได้เขียนตำราที่เกี่ยวกับวิทยาการต่างๆ ไว้มากมาย เช่น คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมืองและสังคม นอกจากนั้นท่านยังมีบทวิจารณ์งานต่าง ๆ ของอริสโตเติลและอื่น ๆ อีกมาก ท่านเกิดในปี ฮ.ศ.259 และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.339

     9. อิบนุ คอลดูน ท่านเป็นนักปรัชญามุสลิมที่มีความสามารถและสติปัญญาอันเฉียบคม ท่านเป็นผู้อธิบายปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้เบิกทางของสังคมวิทยาการร่วมสมัย ท่านได้แต่งตำราเล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีคุณค่าอันล้ำค่าแก่ชาวโลก คือ หนังสือ "มู่ก็อดดีมะห์ อินนุ คอลดูน" ท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ.1406

     10. อิหม่ามฆอซาลี ท่านมีนามเต็มว่า มูฮัมมัด บิน มูฮัมมัด อบูฮามิด อัลฆอซาลี ณ นครโตส ท่านเป็นอัจฉริยบุรุษที่มีความฉลาดและไหวพริบอันหลักแหลม ท่านได้ศึกษาวิชาการด้านศาสนา ปรัชญา ตรรกวิทยาและอื่นๆ ท่านได้นำความคิดของท่านอันมีความเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมในสมัยของท่าน และการศรัทธาที่ท่านยึดมั่นมาตีแผ่ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังแสวงหาความจริง มโนธรรมอันสูงส่งซึ่งความคิดในเชิงปรัชญาของท่านนั้น ท่านมีความเห็นว่า "การสนเท่ห์" คือสิ่งนำทางสู่สัจธรรม ผู้ใดไม่สนเท่ห์เขาจะไม่พิจารณา ผู้ใดไม่พิจารณาเขาก็ไม่ประจักษ์ ผู้ใดไม่ประจักษ์เขาจะจมอยู่ในความมืดมนแห่งอวิชาและความหลงใหล
          อนึ่ง " ความสนเท่ห์ " ที่อิหม่ามฆอซาลีได้ให้ทัศนะไว้นี้มีความแตกต่างจากความสงสัยในเชิงปฏิเสธ ซึ่งไม่ยอมรับความจริงใดๆ แต่กลับตรงข้าม ความสนเท่ห์ในทัศนะของอิหม่ามฆอซาลีพยายามที่จะค้นคว้าหาวิธีการอันเป็นบรรทัดฐานนำไปสู่ความจริง เพื่อทำให้เกิดความมุ่งมาดปราถนาในเชิงปรัชญาอันถูกต้อง
         งานประพันธ์ของท่านอิหม่ามฆอซาลี มีอยู่มากมาย ตำราที่แพร่หลายและโดดเด่นที่สุดของท่าน คือ "อิห์ยาอุลูมุดดีน ฯ " และตำราอื่นๆ อีก ท่านเกิดในปี ฮ.ศ.450 และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.505
ที่มาของบทความ http://www.islammore.com

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

ศาสดาศาสนาอิสลาม 25 ศาสดา


ศาสดาศาสนาอิสลาม 25 ศาสดา

ที่มาของรูป http://topicstock.pantip.com

       ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต มุสลิมเชื่อว่าโลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับจากยุคแรก คือ อาดัมนั้นต้องมีศาสดาหรือศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศเพื่อเผยแผ่โองการของพระเจ้า ซึ่งศาสนทูตนั้นมีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละศาสดาย่อมเปลี่ยนแปลกไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสดาประกาศออกมาเหมือนกัน คือ ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง บรรดาศาสดาที่รับโองการพระเจ้ามาเผยแผ่เท่าที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งสิ้น 25 ท่าน  คือ
   
           1. นบีอาดัม                                                                 14. นบีมูซา      
   
           2. นบีอิดรีส                                                                 15. นบีฮารูน 
   
           3. นบีนัวฮ                                                                   16. นบีดาวูด    
   
           4. นบีฮูด                                                                     17. นบีสุลัยมาน 
   
           5. นบีซอและฮฺ                                                            18. นบีชูอัยบ์    
   
           6. นบีอิรอฮีม                                                               19. นบีอิลยาส       
   
           7. นบีลูฏ                                                                     20. นบีอัลยะซะฮ  
   
           8. นบีอิสมาอีล                                                             21. นบียูนุส   
   
           9. นบีอิสฮาก                                                               22. นบีซักรียา
    
           10. นบียะกู๊บ                                                                23. นบียะฮยา
   
           11. นบียูซุฟ                                                                 24. นบีอีซา  
   
           12. นบีอัยยูบ                                                               25. นบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)
 
           13. นบีซุลกิบ        

       คุณสมบัติของศาสนทูตมี 4 ประการคือ

             1. ศิดกุน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ

             2. อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์
   
             3. ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย
   
             4. ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด

        บรรดาศาสดาทุกท่านเป็นมนุษย์ธรรมดาดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มีการกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ
        สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดาก็เพราะความเป็นศาสดา หมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า
        หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมายและแน่นอนก็จะไม่มีใครพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
        ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออกไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้าทรงดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง
        ศาสนาอิสลามจำแนกศาสนทูตหรือผู้แทนของพระอัลเลาะห์หรือผู้รับโองการจากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัยออกเป็น 2 ประเภท คือ
             1. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "นบี"
             2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วย ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "ซูล" หรือ "เราะซูล"
        ส่วนมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเชื่อกันว่าท่านเป็นทั้งนบีและเราะซูล เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระอัลเลาะห์และทรงเป็นผู้เผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย

ที่มา https://sites.google.com

บุคลิกภาพของนบีมูฮัมมัด แบบอย่างที่ดีที่ควรปฏิบัตในการดำเนินชีวิต

บุคลิกภาพของนบีมูฮัมมัด แบบอย่างที่ดีที่ควรปฏิบัตในการดำเนินชีวิต ที่มาของรูป https://www.youtube.com 1. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีเมื่...